Last updated: 24 พ.ค. 2564 | 73532 จำนวนผู้เข้าชม |
สัญญาจำนอง คืออะไร
จำนอง คือ สัญญากู้เงินชนิดหนึ่ง ที่ใช้หลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น โฉนดที่ดิน บ้าน โรงเรือน โดยสัญญาจำนองนี้ จะต้องไปทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเท่านั้น
การทำสัญญา จำนอง
1. สัญญาจำนอง ต้องไม่มีการโอนทรัพย์สิน จะเป็นแค่การนำโฉนดที่ดินนั้น ไปจดทะเบียนเพื่อตราไว้เป็นหลักประกัน ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินเท่านั้น
2. ในสัญญา จำนอง จะต้องระบุไว้ชัดเจนว่า ผู้จำนองทำการกู้เงินเป็นวงเงินจำนวนเท่าไหร่ และทรัพย์ที่นำมา จำนอง คืออะไร อัตราดอกเบี้ย และการชำระคืนเป็นอย่างไร มิเช่นนั้น สัญญาจะไม่สมบูรณ์
3. กรณีที่ ผู้จำนอง (ผู้ขอกู้เงิน) เกิดผิดสัญญา ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ผู้รับจำนอง ก็ไม่สามารถยึดทรัพย์ตามกฎหมายได้ทันที เพราะทรัพย์สินนั้น ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้อยู่ ต้องมีกระบวนการฟ้องร้องตามกฎหมาย ให้ศาลบังคับให้ลูกหนี้ นำที่ดินไปขายทอดตลาดที่กรมบังคับคดี เพื่อนำเงินไปชำระหนี้ ซึ่งจะเป็นในแบบเดียวกับที่ สถาบันการเงินฟ้องลูกหนี้
อายุความสัญญาจำนอง
สัญญาจำนอง ที่จริงแล้วไม่มีอายุความ แต่จะมีการระบุระยะเวลาชำระหนี้ และหากมีการผิดชำระเท่านั้น ตัวอย่าง เช่น ในสัญญาจะมีการระบุเอาไว้ว่า นาย ก ได้รับจำนองที่ดินไว้กับ นาย ข กำหนดเวลารับชำระ คือ 1 ปี หากไม่ชำระตามกำหนดจะคิดดอกเบี้ยเท่ากับการกู้เงิน (15% ต่อปี) ซึ่งเจ้าหนี้ สามารถทำการเก็บดอกหลังจากเวลาผิดนัดชำระได้นาน 5 ปี
แต่หากเจ้าหนี้ ไม่ได้รับการชำระหนี้ เจ้าหนี้จะสามารถทำการฟ้องให้ ชำระหนี้ที่ค้างตามกฎหมายย รวมกับดอกเบี้ยที่ค้างเดิม และดอกเบี้ยดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่ผิดนัด หรือถ้าหากลูกหนี้ไม่สามารถชดใช้หนี้สินได้จริงๆ จะมีการ บังคับจำนอง เพื่อนำที่ดินไปขายทอดตลาด เพื่อนำเงินมาชดใช้
การจำนอง คืออะไร
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์
ลักษณะของสัญญาจำนอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 702
วรรคแรก บัญญัติว่า
"อันว่าจำนองนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้จำนองเอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจำนองเป็นการประกันการชำระหนี้โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สิน นั้นให้แก่ผู้รับจำนอง"
วรรคสอง บัญญัติว่า
" ผู้รับจำนองชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ มิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้ว หรือหาไม่"
ทรัพย์สินที่ใช้จำนอง มีอะไรบ้าง
1) อสังหาริมทรัพย์ทุกชนิด เช่น โฉนดที่ดิน,บ้าน,โรงเรือน,สิ่งปลูกสร้าง,คอนโด,ห้องชุด เป็นต้น
2) สังหาริมทรัพย์ บางประเภท ได้แก่ เรือ มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป, แพ , สัตว์พาหนะ และสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ซึ่งกฎหมายหากบัญญัติไว้ให้จดทะเบียนเฉพาะการ
3) สังหาริมทรัพย์ โดยทั่วไปจำนองไม่ได้ เช่น รถยนต์,ทอง,นาฬิกา เป็นต้น
การจำนอง เหมาะกับใครบ้าง
การจำนอง จะเหมาะสำหรับ คนที่ต้องการกู้เงิน ที่ต้องการอนุมัติเร็ว และไม่ต้องการที่จะขายบ้าน หรืออสังหาริมทรัพย์นั้นๆ การจำนอง โดยปกติแล้ว หากเป็นการจำนอง ผ่านธนาคาร หรือ สถาบันการเงิน จะได้วงเงินขึ้นอยู่กับเครดิต ของผู้กู้ แต่ไม่เกิน 100% ของราคาประเมินเท่านั้น แต่หากเป็นการจำนองกับนายทุนทั่วไป บุคคลธรรมดา จะได้ประมาณ 20-40% ของราคาประเมินเท่านั้น ซึ่งหากถ้าท่านต้องการวงเงินมากกว่านี้้ อาจจะต้องเป็นสัญญาอีกชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า สัญญาขายฝาก
1 พ.ค. 2567
4 พ.ย. 2566
11 ต.ค. 2563